บทความนี้ ผมเคยเขียนแล้วเผยแพร่มาก่อน แต่ผมเอามา rewrite ใหม่อีกครั้งนะครับ
ก่อนจะเข้าใจ Token ขออธิบายเรื่อง Blockchain Network ก่อน
blockchain แรก ที่ถูกเอามาใช้งานเชิงพาณิชย์ คือ Bitcoin อย่างที่เรารู้กัน โดยใน Bitcoin blockchain network เค้าสร้าง Token ตัวแรกสุดขึ้นมา ในเชิง Technical เราจะเรียก Token ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกัน Blockchain network นั้นว่า “Native Token” ซึ่ง เค้าจะใช้ Native token นี่แหล่ะ ที่เป็นตัวอ้างอิงมูลค่าต่างของ blockchain network นั้นๆ (ใช้เป็น token ที่รับรางวัลจากการขุด) เราก็เลยสามารถเรียกมันว่าเป็น “Coin” ได้เช่นกัน เพราะมันเป็นเหมือน เหรียญ ที่มีมูลค่า ซึ่งให้ความรู้สึกที่ดีกว่า “Native Token” เยอะเลย
Native Token ก็คือ Token ตัวแรกของระบบ blockchain นั้นๆนั่นเอง (หรือเรียกย่อๆ ว่า coin)
และเมื่อมีคนเอา Coin มาแทนเงิน โดยเฉพาะ Bitcoin ที่นอกจากการรับรางวัลจากการขุดเพื่อเอาไปเปลี่ยนเป็นเงินแล้ว เค้าก็มองว่า การเอา Bitcoin มาใช้ซื้อสินค้าบริการ มันก็จะกลายเป็นสกุลเงินอันนึงเลยสิ จึงเป็นที่มาของคำว่า Cryptocurrency นั่นเอง เพราะหมายถึง สิ่งที่ถูกใช้เป็นตัวกลาง แลกเปลี่ยนกับสิ่งที่มีมูลค่าอีกสิ่งหนึ่ง เหมือนอย่างที่เงินทำได้
ต่อมา Blockchain ก็มีการพัฒนาขึ้น มีการสร้าง blockchain network ออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็ใช้การ copy source code จาก Bitcoin ไปอีกที แล้วต้องรัน network เป็นของตัวเองแยกจากกัน ทำให้มี network blockchain เกิดขึ้นมากมาย ตายบ้าง รอดบ้างก็ว่ากันไป ซึ่งจุดประสงค์ก็คือ มาสร้าง coin ของตัวเองกันนี่แหล่ะ
แต่มีนักพัฒนาบางคน ของ Bitcoin มองว่าถ้า Blockchain จะขยายตัวต่อ ไม่จำเป็นต้องมี coin เดียวในแต่ละ network (เลิก clone กันได้แล้ว) และถ้าเราสามารถพัฒนาให้เขียนโปรแกรม เพื่อควบคุมการทำงานของ coin เหล่านั้น ใน blockchain network เดียวได้ เราก็จะสามารถสร้าง Token ได้ไม่จำกัด บน blockchain เดิมที่มีอยู่แล้ว เค้าเสนอว่าจะทำสิ่งนี้บน Bitcoin blockchain network แต่ว่า developer ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
นักพัฒนา Bitcoin คนนึง จึงมาสร้าง Blockchain ตัวใหม่ แต่การแยกมาสร้างใหม่ครั้งนี้ เค้าไม่ได้ต้องการให้มี coin เดียวเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา เค้าทำให้มันรองรับการเขียนโปรแกรมใส่เข้าไปใน blockchain เลย แล้วโปรแกรมนั้น จะทำหน้าที่ ควบคุมการทำงาน และสภาพแวดล้อมของ Token ย่อย ของใครของมันอีกที จนโลกเราก็ได้ Ethereum ออกมา ซึ่ง Ethereum สามารถเขียนโปรแกรมใส่เข้าไปใน blockchain (ตัว program นี้ มีชื่อเรียกว่า smart contract ซึ่งทำได้หลายอย่างมากกว่าแค่การสร้าง token) เพื่อสร้าง Token ขึ้นมาใหม่ได้ และ Token ตัวนั้น ก็ทำงานเหมือนกัน กับ Coin หลักได้เลย (แต่เป็นคนละชื่อกัน) โดยไม่ต้องไปตั้ง blockchain network ใหม่เป็นของตัวเองอีกต่อไป
นั่นเป็นครั้งแรก ที่โลกเราเริ่มเรียนรู้ Coin มีค่าไม่เท่ากับ Token
เพราะ Ethereum มี Native Token ก็คือ ETH อันเดียวเท่านั้น อย่างที่เรารู้กัน แต่ว่ามี Token ที่สร้างบน Ethereum blockchain network อีกมากมาย ที่ดังๆในยุดแรกๆก็เช่น THETA, BAND, POWR และที่ดังๆในยุคหลังๆก็เช่น LINK, USDC,DAI ทั้งหมดนี้ คือ Token ที่สร้างครั้งแรกบน Ethereum blockchain network ทั้งนั้น (ช่วงหลังเกิดการกระจายตัวออกไปใช้งานใน blockchain อื่นๆต่ออีกมาก)
แต่ด้วยความที่ Token ส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมา ก็พยายามทำหน้าที่เป็น “Coin” หรือตัวที่ทดแทนมูลค่าเงิน คนก็เลยสับสน ว่านี่คือ coin หรือ token กันแน่ (เช่น DAI ที่ทดแทน 1 US Dollar)
ดังนั้นที่ถูกต้องก็คือ ถ้าไม่ใช่ Native Token เราจะเรียกมันว่าเป็น “Token” ทั้งหมด
และถ้ามันมีมูลค่าแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ ก็ถูกเหมารวมหมดว่าเป็น Cryptocurrency ไปด้วยนั่นเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็เรียก Token ตามเดิม ที่เคยเป็นมา