สัญญาล่วงหน้า (Futures) ใช้ให้ดี มีประโยชน์ ลดความเสี่ยง port ได้

Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคืออะไร

ขอย้อนกลับไปในการค้าขายตามปกติ สมมุติว่าเราต้องการซื้อข้าวกิโลกรัมละ 40 บาทจำนวน 1000 กิโลในแต่ละเดือน เพื่อมาปรุงอาหารขาย นั่นหมายถึงต้นทุนค่าข้าวของเราเท่ากับ 40*1000 = 40,000 บาท แต่เราต่างรู้กันดีว่าในหน้าแล้งของทุกปีราคาข้าวจะแพงขึ้น อันนี้มาจากฤดูแล้ง ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง โดยปกติหน้าแล้งก็จะขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 60 บาท นั่นหมายความว่าในหน้าแล้งเราจะต้องซื้อข้าวด้วยราคาแพงขึ้นทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจาก 40,000 บาท กลายเป็น 60,000 บาท แต่ใครจะรู้ว่าหน้าแล้งในปีนั้นจะรุนแรงหรือยาวนานมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าหน้าแล้งในปีนั้นยาวนานและรุนแรงมากราคาข้าวจากปกติหน้าแล้งขายอยู่ 60 บาท ก็จะเพิ่มขึ้นกลายเป็น 80 บาทได้ ทำให้ต้นทุนของเราเพิ่มขึ้นจากปกติ 40,000 บาทกลายเป็น 80,000 บาทเลยทีเดียว 

ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันความเสี่ยงก็คือ ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับชาวนาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะเข้าหน้าแล้งเลย โดยเราในฐานะผู้ซื้อบอกว่าหน้าแล้งปีนี้เราจะขอซื้อข้าวกิโลกรัมละ 65 บาทจำนวน 1000 กิโลกรัม (เพราะเราได้วิเคราะห์มาแล้ว ว่าปีนี้แล้งรุนแรงมากแน่นอน) ชาวนาได้ฟังดังนั้นก็ตอบตกลง เพราะว่าทุกปีหน้าแล้งก็ขายข้าวได้ราคา 60 บาทเท่านั้น และถ้าเกิดว่าปีนั้นเป็นปีที่แล้งรุนแรงและยาวนาน ไม่ว่าอย่างไรก็ตามชาวนาก็ยังคงต้องขายข้าวที่ราคา 65 บาทอยู่ ไม่ว่าราคาตลาดจะเป็น 100 บาทหรือ 120 บาทก็ตามเพราะได้ทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้าไว้แล้ว เราในฐานะคนที่ทำสัญญาซื้อล่วงหน้าก็จะได้ซื้อข้าวในราคา 65 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาท้องตลาดที่เป็น 100 หรือ 120 บาท เราจึงเป็นคนที่กำไร แต่ในขณะที่ชาวนาคือคนที่ขาดทุนเพราะแทนที่จะขายได้กิโลกรัมละ 120 บาทกลับต้องมาขายกิโลกรัมละ 65 บาท 

และนี่ก็คือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งสิ่งนี้ก็ถูกเอามาใช้กับทุกสิ่งอย่าง รวมไปถึงหุ้นด้วย คริปโตเคอเรนซี่ก็ไม่เว้นเช่นเดียวกัน 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้เป็น Zero sum Game หมายความว่าถ้ามีคนนึงได้กำไรจะต้องมีอีกคนนึงที่ขาดทุน (แต่หุ้น หรือ ตัว cryptocurrency ไม่ใช่ zero sum game นะครับ มีหลายคนเข้าใจผิด) จากตัวอย่างที่ยกให้ดูก็คือชาวนาขาดทุนแต่เราคนซื้อที่ได้กำไร และจะได้กำไรขาดทุนในจำนวนที่เท่ากันด้วย ชาวนาขาดทุนกิโลกรัมละ 55 บาทส่วนเราเหมือนว่าได้กำไรเพราะซื้อของถูกกว่าตลาดในราคา 55 บาท ถ้าสัญญานี้เกิดขึ้นจริงเราสามารถซื้อข้าวกิโลกรัมละ 65 บาทแล้วไปขายทอดตลาดในราคา 120 บาทได้ทันที เราก็จะได้กำไร 55 บาทนั้นส่วนชาวนาก็ขาดทุนเป็นค่าเสียโอกาสที่จะได้ขาย 120 บาทกลับต้องมาขาย 65 บาทนั่นเอง

การทำกำไรจาก Futures ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

จากที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็น Zero sum Game นั่นหมายความว่าจะมีคนนึงได้กำไรและจะมีคนนึงที่ขาดทุน จึงเกิดการทำสัญญาจากสองฝ่าย ซึ่งนั่นหมายความว่าคนหนึ่งมองว่าราคาจะต้องขึ้นไปอีกจากจุดที่ซื้อในตรงนั้น ส่วนอีกคนหนึ่งก็มองตรงกันข้ามว่าราคามันจะต้องลง และเมื่อ 2 คนมองเห็นไม่ตรงกันก็จะทำให้เกิดสัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง (และนี่ก็คือ จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวของราคาต่างๆอีกด้วย คนซื้อ ซื้อเราคิดว่ามันจะขึ้น คนขายก็ขายเพราะคิดว่ามันจะลง)

ย้อนกลับไประหว่างเรากับชาวนา เราคือคนที่ซื้อ ในฟิวเจอร์เขาจะเรียกว่า Long ส่วนชาวนาคือคนที่ขายในฟิวเจอร์เขาจะเรียกว่า Short ตอนที่ทำสัญญากันนั้นราคาตลาดยังอยู่ที่ 40 บาทเท่านั้น แต่เรามองว่ายังไงราคาก็ต้องขึ้นไปไกลๆอย่างแน่นอนเราจึงยอมทำสัญญาที่ราคาแพงกว่าปกติคือที่ราคา 65 บาทนั่นเอง(ต้องเทียบกับ 60 บาทที่เป็นราคาหน้าแล้ง) ส่วนชาวนาก็ไม่ได้คิดอะไรหรืออาจจะคิดว่าปีนี้น้ำต้องดีผลผลิตต้องดีแน่นอน ฉะนั้นต้นทุนหรือราคาตลาดอาจจะขายได้ที่ราคา 55 บาทเท่านั้นในปีนี้ ชาวนาจึงยอมขายให้เราที่ราคา 65 บาท เพราะเขาคิดว่าเขาจะได้กำไร 

ซึ่งในตัวอย่างเดิมถ้าผมเปลี่ยนผลลัพธ์ใหม่ว่าปีนั้นน้ำดีผลผลิตดีทำให้ข้าวราคาในตลาดเหลือกิโลกรัมละ 40 บาท อันเนื่องมาจากผลผลิตล้นตลาดและมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มเติม เราในฐานะคนซื้อย่อมต้องยอมจ่ายแพงซื้อในกิโลกรัมละ 65 บาทขณะที่ชาวนาก็ได้กำไรเพราะว่าขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 65 บาททั้งๆที่ตลาดขายกันอยู่กิโลกรัมละ 40 บาทเท่านั้น 

ทีนี้ถ้าเรามองเราจะเห็นว่า ทั้งชาวนาและเราต่างก็เป็นได้ทั้งผู้ที่กำไรและขาดทุนขึ้นอยู่กับตลาดจะวิ่งไปในทิศทางใด ถ้าเราตั้งใจจะซื้อแล้วราคาขึ้นจริงๆเราก็ได้กำไรแน่นอน แต่ถ้าชาวนาตั้งใจจะขายแล้วราคาลงจริงๆชาวนาก็ได้กำไรแน่นอน 

นั่นจึงเป็นที่มาว่า Long ราคาขึ้นแล้วได้กำไร, Short ราคาลงแล้วได้กำไร ตามรูปนี้นั่นเอง

ถ้า short เอาไว้ แล้วราคาแพงขึ้น(ไปทางขวา) จะทำให้ขาดทุน(ต่ำลงด้านล่าง)

Hedge คืออะไร

คือวิธีการแบบหนึ่งที่ใช้ Futures มาเป็นเครื่องมือ ป้องกันความเสี่ยงของราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจากความผันผวนของราคาซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายและใช้กันมานาน ส่วนใหญ่มักจะถูกใช้ในสถาบันการเงินหรือการลงทุนโครงการใหญ่ๆ เพราะการที่ปิดความเสี่ยงได้อาจจะหมายถึงประหยัดต้นทุนไปได้หลายพันล้านบาทเลยทีเดียว ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่า ตอนนี้ค่าเงินบาท 30 บาทต่อ 1 US Dollar ถ้าเราเอาเงินไปลงทุน 3 ล้านบาทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือมีทุน 100,000 US Dollar  สมมุติเวลาผ่านไป 1 ปีเราสามารถทำกำไรได้ 10 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าตอนนี้เรามีเงินอยู่ 110,000 US Dollar และเมื่อเราแปลงกลับมาเป็นเงินบาท เรากลับพบว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ ตอนนั้น อยู่ที่ 25 บาทต่อ 1 US Dollar เท่านั้น เมื่อเราแปลงกลับมาเราจึงได้เงินบาทเป็น จำนวน 2,750,000 บาทเท่านั้น (จากเงินลงทุน 3 ล้านบาท)

ทั้งที่เราไปทำกำไรได้แท้ๆและทำกำไรได้สูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์แต่ทำไมพอแปลงกลับมาเป็นเงินบาทกับขาดทุนได้ นั่นเป็นเพราะว่าความผันผวนของค่าเงินที่เกิดขึ้น แล้วเราต้องทำอย่างไร ถึงจะได้กำไรล่ะ

[เนื้อหาที่ซ่อน จะอธิบายถึงตัวอย่างเพิ่มเติมของการ hedge เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยง และเป็นการ protect กำไรจากกรณีตัวอย่างข้างบนนี้]

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

ตัวคูณ (leverage) ที่ทำให้ต้นทุนลดลง 

[เนื้อหาที่ซ่อน จะอธิบายเรื่องของตัวคูณ ว่ามีประโยชน์อย่างไร โดยอิงจากตัวอย่างด้านบน]

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

ตัวคูณ (Leverage) เป็นคนละเรื่องกับผลกำไร

เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ คือ การอธิบาย ว่าตัวคูณ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลกำไรโดยตรง พร้อมตัวอย่างการคำนวณให้ดู

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

Liquidate (ล้างสัญญา) เรื่องที่ทำให้ขาดทุนได้จริงๆ

เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ คือการอธิบายว่าทำไมการล้างสัญญาถึงทำให้ขาดทุนได้จริง รวมทั้ง ตัวอย่างการคำนวณแบบง่ายๆ ว่าเมื่อไรเราจะถูกล้างสัญญา

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

ดังนั้น การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะแตกต่างกับการใช้เงินซื้อเหรียญ แล้วราคาตก เหรียญเราจะยังคงอยู่ แต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะถูกล้างสัญญาและยึดเงินที่เคยวางเป็นหลักประกันไปด้วยพร้อมกันเลย แต่ถ้าเราได้กำไรและเราเลือกที่จะปิดสัญญาเราก็จะยังได้กำไรพร้อมเงินที่วางเป็นหลักประกันคืนมาเช่นเดิม 

ตัวอย่างจริง

จากรูปตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าตอนนี้ Margin Level ของผมก็คือ 1.69 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นยังเหลือเก็บให้ได้สวิงอีกมากพอสมควร สาเหตุเป็นเพราะว่า ผมปิด Position บางส่วนลงไปทำให้หลักประกันยังคงเหลืออยู่เยอะมาก อีกทั้ง ALICE ราคาต่ำลงด้วย ซึ่งจากการ short เป็นผลให้กำไร ทำให้ margin level ลดต่ำลงไปอีก จากรูปนี้ ถ้าผมขาดทุน 1510.30-25.47 = 1485.83 เมื่อไร สัญญาจะถูกล้างทันที และเงินประกันที่เคยวางไว้จะถูกยึดไปทั้งหมดด้วยเช่นกัน (จากตัวอย่างในหัวข้อบน)

ทำไมผมถึง Short hedge เอาไว้

เป้าหมายของเราคือการมีเงินทุนเพื่อไปทำฟาร์มให้ได้ผลตอบแทน จำนวนที่มากกว่า APR 100% ดังนั้นแล้วเราไม่ต้องการให้ต้นทุนของเราลดมูลค่าลงในกรณีที่ เหรียญที่เราซื้อมูลค่าต่ำลง เราจึงจำเป็นต้อง Short hedge ตามจำนวนเหรียญที่เราได้ซื้อเอาไว้เพื่อเอาไปฟาร์ม 

ตัวเลขก็ง่ายมากและตรงไปตรงมา ก็คือเราซื้อเหรียญมาจำนวนกี่หน่วยให้เราช็อตด้วยจำนวนหน่วยที่เท่ากัน จากตัวอย่างที่เคยเล่าไป การซื้อ Cryptocurrency ที่ต้องการ ด้วย Cryptocurrency ก่อนไปฟาร์ม ผมซื้อ BNB มาฟาร์มด้วยจำนวน 10.23 BNB ดังนั้น ผมจึงต้อง short ด้วยจำนวน 10.23 BNB ด้วยเช่นกัน ตรงไปตรงมาแบบนี้เลย

เพราะถ้าเราคิดง่ายๆว่า สมมุติเรามี 1 BNB ถ้าราคาขึ้น จาก $255 เป็น $256 เราจะได้กำไร $1 และถ้าเรา short 1 BNB ถ้าราคาขึ้น  จาก $255 เป็น $256 เราจะได้ขาดทุน $1 ดังนั้น จึงหักล้างกันได้พอดี

ดังนั้นต่อให้ราคาจะวิ่งไปที่ไหนก็ตามถ้าหลักประกันเรายังคงมีพอ ต้นทุนเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากๆ 

ถ้า short hedge แล้วราคาขึ้นสูงมากๆ ทำอย่างไร

กรณีที่เราทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเราได้ Short hedge เอาไว้แล้ว ถ้าราคาเหรียญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงมาก สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นจะมีผลเป็นขาดทุน ซึ่งมันก็จะไปหักออกจากเงินประกันไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งแล้วเงินประกันเราจะหมด สิ่งที่ตามมาก็คือจะโดนล้างสัญญา ถ้าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ มีแนวทางอยู่หลายแบบดังนี้ 

เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ จะอธิบาย 4 แนวทางที่ให้เลือกใช้งานได้ สำหรับกรณีที่ short hedge แล้วราคาเหรียญเพิ่มขึ้นมากๆ

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

ถ้ามาถึงจุดนี้แล้วเชื่อว่าทุกคนน่าจะเข้าใจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากันมากขึ้นแล้ว และก็พอมองภาพออกแล้วว่าจะใช้ให้มันเป็นประโยชน์ได้ยังไงกับการทำฟาร์ม เพราะถ้าตราบใดที่ต้นทุนเราไม่ลดลงเราก็จะมีเงินไปหาผลกำไรต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆนั่นเอง