Stablecoin ที่ไม่ stable

Stablecoin คืออะไร

Stablecoin คือ Cryptocurrency ตัวหนึ่ง เหมือนอย่าง Bitcoin ETH BNB และอื่นๆ แต่ว่าคุณสมบัติพิเศษกว่านี้นคือราคาจะไม่เคลื่อนที่ โดยราคา จะหยุดนิ่งเมื่อเทียบค่ากับอะไรอย่างหนึ่ง เช่น USDT, USDC, BUSD, DAI, VAI, PAX, TUSD คือเทียบกับ 1 US Dollar หรือบางตัวก็เทียบกับเหรียญอื่นอีกที เช่น WBTC ซึ่งจะมีค่าเทียบ เทียบ 1 BTC เสมอ หรือ DGX ที่1 token เทียบเท่าทอง 1 กรัม หรือ PAXG ที่ 1 token เทียบเท่า ทอง 1 once ล่าสุด THT บน Terra network ที่ 1 token เท่ากับ 1 บาท ก็เรียกว่าเป็น stablecoin ทั้งหมดเลย​

ต้นกำเนิดของ Stablecoin

Stablecoin มีต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเราควรทำความเข้าใจ ว่าแต่ละแบบกำเนิดมาได้อย่างไร วิธีการแบบไหน แล้วมูลค่าพื้นฐานของมันคืออะไร เราจะได้รู้ว่าสิ่งที่เราถือเป็นแค่ token กลวงๆหรือของจริง

1) Stablecoin แบบมีทรัพย์สินจริงๆค้ำ

USDT คือตัวยอดนิยม ที่เค้าบอกว่ามีเงิน Dollar วางค้ำเอาไว้จริงๆ ในอัตรา 1 USDT ต่อ 1 US Dollar เลย (แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ต่างมีข่าวลือ ว่า USDT นั้น พิมพ์ขึ้นมาโดยไม่มี US Dollar ค้ำเอาไว้จริงๆ ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึงตรงนี้) หรือว่า BUSD (Stablecoin ของ Binance) ก็เช่นกัน ต่างมี US Dollar back เอาไว้จริงๆ รวมไปถึง GOLD, DGX ที่เป็น Stablecoin อ้างอิงมูลค่าทองคำ ก็มีทองที่เป็นทองจริงๆจับต้องได้ back เอาไว้จริงๆ โดย 1 GOLD = 1 gram ของทองคำ ที่มีความบริสุทธ์ 99.99% (ทองที่เราสวมใส่จะบริสุทธ์ 96.5 เหมาะสำหรับสวมใส่มากกว่าเก็บเพื่อเพิ่มมูลค่า) เหล่านี้ก็คือ stablecoin ที่มีทรัพย์จริงค้ำเอาไว้ และราคาก็จะเปลี่ยนแปลงตามทรัพย์ที่ค้ำนั้นอีกที ขึ้นอยู่กับเรามองมุมไหน ถ้าเรามองมองเงินบาท เราจะเห็นว่า US Dollar ราคาก็ไม่คงที่ในแต่ละวัน แต่ถ้าเรามองมุม US Dollar เราจะเห็นว่ามันแทบจะไม่เคลื่อนไหวเลยในแต่ละวัน

ตัวอย่าง USDT, BUSD, TUSD

2) Stablecoin แบบมี Cryptocurrency ค้ำอยู่

2.1 เอา Cryptocurrency ตัวเดียวมาค้ำ เพื่อสร้าง token ใหม่ที่อ้างอิงทรัพย์สินนั้น

เช่น WBTC เป็น Token ที่สร้างขึ้นมาบน ERC-20 network (Ethereum network) เพื่อให้ Bitcoin มีตัวตันจริงๆใน Ethereum network โดยทุกๆ 1 WBTC จะมี 1 BTC จริงค้ำเอาไว้เสมอ โดย WBTC จะมีมูลค่าเท่า BTC เสมอนั่นเอง

2.2 เอา Cryptocurrency หลายตัวมาค้ำเป็นหลักประกัน (เช่น BTC, ETH, BNB หรืออื่นๆ มารวมๆกัน) แล้วสร้าง Cryptocurrency Stablecoin ขึ้นมาใหม่

โดยเงินที่สร้างใหม่ไปอ้างอิงกับมูลค่าของอะไรบางอย่างเลย ผมเรียกกรณีนี้ว่า เป็น โรงกษาปณ์ คือ โรงกษาปณ์ สามารถสร้างเงินขึ้นมาได้ โดยใช้ทองคำกับเงินสกุลอื่นๆ ค้ำประกันอยู่ข้างหลัง อย่างเช่น DAI ที่สร้างด้วย MakerDAO ซึ่ง DAI จะมีมูลค่าเทียบเท่า 1 US Dollar หรือ VAI ที่สร้างด้วย Venus platform ซึ่ง VAI จะมีมูลค่าเทียบเท่า 1 US Dollar เช่นกัน
ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เอามาค้ำจะมีมูลค่ามากกว่าเงินที่สร้างขึ้นมาเสมอ เพื่อให้ส่วนต่างเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ (เพราะตลาด Cryptocurrency เป็นตลาดที่มีความสวิงสูงมาก) ดังนั้นถ้าเรามีทรัพย์มูลค่า 150 US Dollar จะสามารถสร้าง ได้ 90 VAI หรือ 100 DAI เท่านั้น

3) Stablecoin ที่พยายามรักษามูลค่าด้วย Algorithm

Stablecoin แบบนี้ แตกย่อยได้หลายแบบเลย เพราะแต่ละ coin จะมี algorithm ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมด ไม่มี asset อะไรมาค้ำประกัน แต่ว่าใช้กระบวนการของโค้ด smart contract ทำงานร่วมกับสภาพตลาด ที่สื่อออกมาเป็น ราคา ณ เวลาต่างๆ ที่ได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า (เช่น ทุกๆ 6 ชั่วโมง) เพื่อทำการปรับมูลค่าของ coin อีกที

ผมแยกได้ 2 แบบ

3.1 dilutive แบบที่จำนวน coin ในมือเราไม่เปลี่ยน

แบบนี้ จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วน 1) stablecoin เอง ที่มีมูลค่าคงที่ 2) share token 3) bond token แต่ละอันคือคนละ token แต่ทำงานร่วมกันในสถานการณ์ต่างๆดังนี้

ตัวอย่าง วันนี้เรามี 100 token มูลค่า 1 token = 1 US Dollar และมีการปรับคำนวณเพื่อปรับสมดุลทุกๆ 6 ชั่วโมง ต่อมา มีความต้องการใช้ token สูงมากๆ ในช่วง 6 ชั่วโมงก่อนการคำนวณ ทำให้ราคาขึ้นไปถึง 2 US Dollar และเมื่อครบ 6 ชั่วโมง ระบบจะพิมพ์เงินเพิ่มออกมา ให้กับคนที่ถือ Share token ฟรีๆ ดังนั้น ใครอยากได้เงิน ก็ต้องมี share token ในมือ จะได้เงินเมื่อราคา stablecoin นั้นสูงเกินกว่า มูลค่าที่สมดุล (กรณีนี้คือสูงเกิน 1 US Dollar) โดยระบบจะกำหนด ว่าต้องได้เท่าไร ขึ้นอยู่กับจำนวน stablecoin ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด ณ เวลาที่ปรับสมดุลอีกที อันนี้ขึ้นอยู่กับโค้ดที่เขียน แต่สำหรับ ใครที่ถือ Bond มา จะสามารถขายได้ในราคา 2 US Dollar ต่อ 1 bond token ถือว่าเป็นช่วงที่ทำกำไร โดย Bond จะ burn ออก แล้วได้รับกลับมาเป็น stablecoin ตามราคา ณ ตอนนั้น เข้ามาในระบบแทนอีกทีด้วย ทั้งหมด เพื่อลดมูลค่าของ stable coin ลง แต่จะลดได้จริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวน และ ความต้องการของตลาด หลายๆเหรียญไม่สามารถสู้ความต้องการของตลาดได้ ทำให้มันไม่ stable คือ แพงอยู่อย่างนั้นยาวๆ

อีกกรณีกลับกัน (ยังอยู่ที่เหรียญเดิม) วันนี้เรามี 100 token มูลค่า 1 token = 1 US Dollar และมีการปรับคำนวณเพื่อปรับสมดุลทุกๆ 6 ชั่วโมง ต่อมา คนไม่ต้องการ ขายทิ้งกันเยอะ จนราคาเหลือ 0.5 US Dollar เมื่อครบ 6 ชั่วโมง ระบบจะเปิดขาย Bond toke ซึ่ง คนที่ซื้อ bond จะซื้อได้ในราคา 0.5 US Dollar และการซื้อ Bond นั้นจะเป็นการ burn stablecoin ออกไปจากระบบด้วยจำนวนที่เท่ากัน ในตอนนี้คนที่ถือ share จะไม่ได้อะไรเพิ่มเติม เพราะราคาต่ำกว่า 1 US Dollar ระบบจึงไม่พิมพ์เงินเข้าระบบเพิ่ม และคนที่ซื้อ bond ไป ก็จะยังแลกคืนไม่ได้ จะแลกได้ตอนที่ราคาเกิน 1 US Dollar (ตามที่ระบบกำหนดไว้) เท่านั้น

ตัวอย่าง stablecoin กลุ่มนี้ MDO, BDO

(update 2022) UST เป็นอีกตัวอย่าง Algorithm stable coin ที่อิงมูลค่า $1 เอาไว้ โดยมี Luna ทำหน้าที่ เป็น Bond ในการดูดซับส่วนต่างที่เกิดขึ้นของ UST โดยหลักการ ก็คือ 1 UST = 1 US Dollar แต่เมื่อตลาดมีความต้องการ UST สูงมากขึ้น ราคา UST แพงขึ้น เช่น 1.2 = 20% ส่งผลให้ Algorithm จะทำการ สร้าง UST ขึ้นมาขายเพิ่ม พร้อมกับ Burn Luna ทิ้ง กรณีนี้ จะส่งผลให้ Luna ราคาควรจะแพงขึ้น พร้อมกับราคา UST ควรจะตกลง เพราะมี UST ขายในตลาดมากขึ้น อีกทั้ง Luna มีของขายในตลาดลดลง และกลับกัน ถ้า UST ในตลาดมีค่าต่ำกว่า 1 US Dollar ดังนั้น Algorithm ก็จะทำการดึง UST จากตลาด กลับเข้าไป Burn พร้อมทั้งสร้าง Luna เพิ่มเข้ามาในตลาด โดยคาดหวังว่า Luna ก็ควรจะถูกลง พร้อมกับราคา UST ที่จะแพงขึ้น

จะเห็นได้ว่า มันเป็นอะไรที่ ideal มากๆเลย ทุกอย่าง สร้างขึ้นบนความน่าจะเป็น ด้วยการใช้หลักการ demand supply และ math เข้ามาร่วม แต่ชีวิตจริง มันมีอะไรมากกว่านั้น เพราะอารมณ์ มันทำให้เกิดความเพี้ยนจากสภาพปกติไปได้สุดขั้วอย่างที่มันไม่ควรจะเป็น คือ ต้องบอกว่า ทุกอย่างมันจะสวย เมื่อมีคนขาย UST และมีคนรับซื้อ ตลอดเวลา แต่ว่าที่ผ่านมา หลังจากที่เริ่มหลุด peg แล้ว ก็จะมีแต่แรงขายตลอดเวลา พร้อม FUD ไม่หยุด จนทำให้ UST แทบจะไร้มูลค่าไปเลย แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่าทั้งหมดนั้น เรามโนกันเองตั้งแต่ต้นแล้ว ว่ามันต้อง 1 US Dollar

และถ้ามันไม่มีอะไรที่พิสูจน์ได้ว่า มันจะต้องเป็น 1 US Dollar ได้โดยเท่าเทียม ที่เหลือมันแค่รอเวลาทดสอบเท่านั้น ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน พ.ค. 2022 ที่ผ่านไปนั่นเอง ผลสรุปคือ UST ไม่ผ่านการทดสอบโดยสิ้นเชิง ของที่เกิดจากความมโน ก็ได้พิสูจน์แล้ว ว่ามโนเอาจริงๆ

3.2 non-dilutive หรือแบบที่จำนวน coin ในมือเราเปลี่ยนไปตามสภาพตลาดได้ (หรือเรียกว่า elastic supply)

แบบนี้ จะ งงๆ หน่อย เพราะชีวิตจริงเราไม่เคยมีอะไรแบบนี้

ผมอธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า สมมุติเริ่มต้น เรามี 100 token มูลค่า 1 token = 1 US Dollar และมีการปรับจำนวนทุกๆ 6 ชั่วโมง แต่ต่อมา มีความต้องการใช้ token สูงมากๆ ในช่วง 6 ชั่วโมงก่อนการปรับจำนวน (rebase) ทำให้ราคาขึ้นไปถึง 2 US Dollar แล้ว เมื่อครบเวลา 6 ชั่วโมง ระบบจะตรวจสอบพบว่า ราคาสูงเกิน 1 US Dollar อยู่ถึง 100% ดังนั้น ระบบจะเพิ่มจำนวน token ให้ทุกคน เป็นจำนวน 100% , เดิม ที่ผมมีในกระเป๋า 100 token ก็จะกลายเป็น 200 Token ในทันที ซึ่งหลังจากการ rebase นั้น มูลค่าก็จะกลับมาเป็น 1 US Dollar เท่าเดิม (เพราะสร้างให้เงินขึ้นมาในระบบให้ทุกคนแล้ว) ทุกคนมีเงินเพิ่มสองเท่า ถ้าต้องการซื้อสินค้าที่ราคาเดิม ก็ต้องใช้ token สองเท่าในการซื้อ นั่นเอง

ในทางกลับกัน ตัวอย่างเดิม เริ่มต้น 100 token ที่ 1 token = 1 US Dollar แต่คนไม่ต้องการ ขายทิ้งกันเยอะ จนราคาเหลือ 0.5 US Dollar เมื่อครบ 6 ชั่วโมง ระบบจะตรวจสอบพบว่า มูลค่าตกไปถึง 50% ดังนั้น ก็จะลดจำนวน token ทุกคน 50% ด้วย กรณีนี้ จาก 100 token ในกระเป๋าจะเหลือ 50 Token ทันทีหลังจากการ rebase กรณีนี้คือ ค่าเงินจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซื้อของด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงนั่นเอง

ตัวอย่าง stablecoin กลุ่มนี้ ESD, DITTO, AMPL

Stablecoin ที่ราคาไม่ stable

เมื่อเรารู้แล้วว่า stable coin มีหลายแบบ ดังนั้น เราจะรู้ว่าแต่ละแบบมีความแข็งแรงทนทานไม่เท่ากัน พวก algorithm เนี่ยจะเป็นพวกที่ราคาสวิงมากที่สุด และด้วยความที่ไม่มีทรัพย์สินค้ำ มันสามารถลู่เข้าสู่ 0 ได้อย่างไม่ยากเลย ดูอย่าง ESD ก็ได้ https://coinmarketcap.com/currencies/empty-set-dollar/

ก็ถ้าในเมื่อไม่มีใครสนใจราคาเหรียญก็จะตกลงไปเป็นธรรมชาติ และยิ่งไม่มีทรัพย์สินมาค้ำประกัน ก็ยิ่งหามูลค่าที่แท้จริงไม่เจอ เพราะถ้าราคาปกติต้องเป็น $1 แต่ราคาตอนนี้ $0.1 ซึ่งถือว่าถูกมาก ได้ discount เยอะเลย แต่ว่าคิดดีๆ อะไรคือตัวที่จะรับประกันว่ามันต้องเป็น $1 ในตอนท้ายสุดล่ะ? ไม่มีเลย

ส่วนแบบที่มี cryptocurrency ค้ำประกัน ส่วนนี้ ก็ถือว่ามีสินทรัพย์ค้ำอยู่ข้างหลัง แต่ว่าก็ไม่แน่เสมอไปว่าราคาต้องเป็น $1 เสมอ อย่างกรณี VAI ที่ออกแบบมาให้มีทรัพย์สินวางค้ำเอาไว้ 266.67% แต่ราคากลับต่ำกว่า $1 บางทีหล่นไป $0.88 เลยก็มี กรณีนี้ ก็เป็นไปตามกลไลของความต้องการของตลาดนั่นเอง เพราะ Venus เป็น platform ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง โดยมีคนสนใจเอาเงินมาฝากสูงถึง $7.9Billion (7.9 พันล้าน US Dollar) โดยคนฝากสามารถฝาก 100 แล้วสร้าง VAI ออกไปได้ 60 พอสร้างออกไปแล้ว คนก็เอาไปขาย แล้วเปลี่ยนเป็น stable coin ตัวอื่น เช่น USDT, BUSD หรืออื่นๆ เพราะการสร้าง VAI ออกไปใช้นั้น ไม่มีดอกเบี้ยเหมือนอย่างการกู้ Stablecoin ออกมาตรงๆ อีกทั้งตัว VAI เอง ก็ไม่ได้รับความนิยมในการเอาไปทำเป็นคู่ Farm สักเท่าไร ทำให้สร้างเยอะ ไม่มีที่ใช้ ก็ขายทิ้งเลยดีกว่า ราคาก็เลยตกลงมานั่นเอง

ส่วนแบบที่มีทรัพย์สินจริงๆ ค้ำ แบบนี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่สวิงนะ อย่าง PAIR BUSD-USDT เอง เคยมีวูบสวิง 10% อยู่เหมือนกัน แต่ก็โอกาสน้อยมาก

Stablecoin กับเงินบาท

พอเรารู้แบบนี้แล้วเราจะเข้าใจว่า Stablecoin ที่มีมูลค่าเท่ากับ 1 US Dollar นั้นมันก็ควรจะมีค่าเท่ากับ 1 US Dollar เสมอแต่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงิน US Dollar บ้านเรานั้นเป็นเรทลอยตัวทำให้เกิดความผันผวนในจุดนี้ขึ้นเพิ่มอีก 1 จุดด้วย เมื่อประมาณเดือนที่แล้วอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ที่ ประมาณ 30 บาทต่อ 1 US Dollar แต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 31.5 บาทต่อ 1 US Dollar แล้ว

นั่นก็เป็นความผันผวนเรื่องหนึ่ง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็เกิดขึ้นใน Exchange ของบ้านเราเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความต้องการซื้อ usdt มากขึ้น ก็จะทำให้ราคาแพงขึ้น อย่างเมื่อ 2 วันก่อนที่ bitcoin ราคาตกส่งผลให้เราต้องซื้อ usdt แพงเกือบ 33 บาทต่อ 1 US Dollar เลยทีเดียว