เนื้อหานี้จะมาเล่าลงรายละเอียดของ Decentralized Financial โดยเฉพาะเลย เพราะตั้งแต่เปิดเว็บมาก็ยังไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรจะเข้าใจ เพราะเมื่อเราทำความเข้าใจของการทำงานแล้ว เราจะเห็นภาพมากขึ้นว่าเรากำลังลงทุนอยู่กับอะไร เราได้อะไรมาเป็นผลตอบแทน และผลตอบแทนนั้นมาจากไหน ใครเป็นคนจ่าย จะพยายามอธิบายให้ครบถ้วนเลยทีเดียว
Decentralized Financial
ตัวย่อก็คือ DeFi อ่านว่า เด-ไฟ หรือ ดี-ไฟ ก็ไม่ผิด คำนี้เป็นคำเรียกรวมๆของระบบที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งทำงานอยู่บน Blockchain Technology โดยไม่ได้จำกัดความเฉพาะเจาะจงไปที่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่นไม่ได้หมายถึงเฉพาะระบบการทำงานที่คล้ายกับธนาคาร แต่เพียงอย่างเดียว แต่เราจะเรียกทุกอย่างรวมกันว่าเป็น DeFi
องค์ประกอบที่สำคัญที่เราจะสามารถเรียกว่าเป็น DeFi ได้ก็คือ
- ทำงานอยู่บนบล็อกเชนเทคโนโลยี
- ระบบการทำงานส่วนต่างๆบรรจุอยู่ใน Smart contract ทั้งหมด ยกเว้นส่วนที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน เช่นหน้าเว็บหรือแอพพลิเคชั่น ที่ไม่ได้ทำงานอยู่ใน Smart contract แต่จะไปติดต่อกับ Smart contract เพื่อเอาข้อมูลมาแสดงผลอีกทีนึง
- เปิดเผย source Code หรือสามารถอ่าน source Code ได้จาก Smart Contact ที่เปิดเผย
- ผลจากการเปิดระบบให้โปร่งใสเพราะสามารถอ่าน source Code หรือเข้าใจกระบวนการทำงานทั้งหมดได้แล้ว หลายที่จึงเพิ่มความเป็นกลางขึ้นมาด้วยการยอมให้การเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดมาจากผลโหวตของผู้ใช้งานระบบเท่านั้น
- ผู้ใช้งานจะเป็นผู้ถือสิทธิ์ขาดในการยินยอมทำธุรกรรมเท่านั้น เว้นแต่ว่าได้มอบสิทธิ์นั้นให้กับ Smart contract ไป
ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่เมื่อเทียบกับ Centralized Financial อย่างเช่นธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน อย่างที่เรารู้กัน เราไม่เคยเข้าไปอ่าน source Code การทำงานใดๆของระบบธนาคารได้เลย หนำซ้ำตรงกันข้าม Source Code การทำงานของธนาคารในปัจจุบันต้องถูกเก็บเป็นความลับขั้นสูงสุดอีกต่างหาก เราไม่มีทางรู้เลยว่าการทำงานของธนาคารนั้นมีการคำนวณอย่างไร แต่ถ้าธนาคารคำนวณดอกเบี้ยมาแล้วบอกว่าถูกต้อง เราก็จะเชื่อว่ามันถูกต้อง เราไม่สามารถตรวจสอบได้ได้เลย อีกทั้งกระบวนการบันทึกบัญชี ก็ไม่ได้ทำอยู่บน Blockchain Technology ซึ่งนั่นหมายความว่า ธนาคารมีสิทธ์ จะลบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ซึ่งหมายรวมถึงรายการบางรายการที่อาจจะตกหล่นหายไปจากสารระบบอันเกิดจากความผิดพลาดได้อีกด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้น ที่กระทบต่อผู้ใช้งาน
อำนาจที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง (quote จาก spider man movie เหมาะที่สุดละ) เพราะ
- เราคือคนที่ถือสิทธิ์ขาดในการยอมหรือไม่ยอมทำธุรกรรม เพราะเราคือคนที่ถือกุญแจในการเข้ารหัสเพื่อยืนยันในธุรกรรมใดๆเพียงผู้เดียว (ถ้าใครได้กุญแจไป ก็จะเอา digital asset ทั้งหมดออกไปได้)
- หากเกิดเหตุความผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นไม่มีหน่วยงานหรือเจ้าขององค์กรใดที่จะมารับผิดชอบได้ เพราะทุกอย่างมันไร้พรมแดนและไม่มีใครเขียนข้อกำหนดใดๆเพื่อมาครอบคลุมได้เลย
- เมื่อยินยอมในการทำธุรกรรมใดๆไปแล้วจะไม่มีวันหวนคืนหรือย้อนกลับได้อีก
ดังนั้นแล้วผู้ใช้งานระบบ DeFi จึงควรมีสติคิดให้รอบคอบตลอดเวลา เพราะทุกอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น มันจะบันทึกอยู่อย่างนั้นตลอดไป และนี่ก็เป็นสาเหตุหลักว่าทำไมระบบ Blockchain ถ้าใครโดนขโมยทรัพย์สินออกไปแล้ว จะไม่สามารถเอาคืนมาได้อีก เพราะคุณสมบัติของ Blockchain Technology เมื่อบันทึกอะไรลงไปแล้วก็จะเป็นแบบนั้นตลอดไป
Governance Token
เนื้อหาที่ซ่อนอยู่อธิบาย Governance Token คืออะไร มาจากไหน และทำหน้าที่อะไร
เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น
เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง ReachDeFi มีอะไรให้เราใช้งานแล้วบ้าง
เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ อธิบายว่ามี platform อะไรแล้วบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับโลกความเป็นจริง พร้อมยกตัวอย่าง
เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น
เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reachแต่ละที่ ก็มี feature function ที่แตกต่างกันไป ซึ่งหลายที่ก็มี feature ที่ทับซ้อนกับอีกที่หนึ่งด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเกิดเป็นความหลากหลาย ที่ทำให้เราสามารถหากำไรได้อย่างต่อเนื่อง
Yield farming
เป็นการเปรียบเทียบเหมือนว่าเราเข้าไปทำฟาร์มสักแห่งหนึ่ง เพื่อให้เกิดส่วนต่างออกมาเป็นผลกำไรเกิดขึ้นได้
ผมยกตัวอย่าง เรามีเงิน 150 บาท แล้วเราเอาไปเข้าโรงรับจำนำ ที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารไปในตัว เมื่อเราเอาทรัพย์สินไปเข้าโรงรับจำนำเพียงแค่เพื่อฝากเอาไว้และรับดอกเบี้ยเท่านั้น(เปรียบเสมือนฝากธนาคารกินดอก) โรงรับจำนำก็บอกว่าโอเคเราจะให้ดอกเบี้ยคุณ 1 % ต่อปี เพียงเท่านี้เราก็ได้กำไรจากเงินที่เรามีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งก็มีคนเข้ามากู้เงินออกจากโรงรับจำนำไปเช่นกัน โดยระบบการกู้เงินใน DeFi ปัจจุบันนั้นมีแต่แบบที่จะต้องวางหลักประกันเท่านั้น เพราะทุกคนพร้อมจะโกงตลอดเวลา และตามตัวไม่ได้ด้วย คนที่จะมากู้จึงจะต้องมีทรัพย์สินเอามาวางค้ำก่อนเช่นมีทรัพย์สินมูลค่า 200 บาทก็เอามาวางคำเอาไว้ จากนั้นก็กู้เป็นเงินออกไปได้สูงสุดจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์หรือ 120 บาท โดยจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 2 เปอร์เซ็นต์ จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าโรงรับจำนำแห่งนี้ได้กำไร 1% และเราในฐานะเอาเงินไปฝากฝากเพื่อกินดอกอย่างเดียวโดยไม่กู้ก็จะได้กำไร 1% โดยโรงรับจำนำก็ใช้เงินของเรานั่นแหละปล่อยออกไปให้กับคนที่กู้หากเกิดเหตุความผิดพลาดเกิดขึ้นโรงรับจำนำจะยึดทรัพย์สินผู้กู้แล้วขายทอดตลาดนำเงินมาคืนเราอีกทีหนึ่ง
สิ่งที่ไม่เหมือนกับโรงรับจำนำหรือธนาคารในปัจจุบันก็คือ โรงรับจำนำ หรือ ธนาคารไหน DeFi เป็นเพียงแค่โค้ดที่เขียนเอาไว้เท่านั้น หรือที่เราเรียกว่า Smart contract ซึ่งบรรจุอยู่ใน Blockchain network อีกทีหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการทั้งหมดจึงไม่จำเป็นต้องใช้คนในจุดใดเลย ทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ หรือที่เขามักจะเรียก DAO (Decentralized Autonomous Organization) เมื่อต้นทุนเรื่องคนไม่มีแล้ว ส่วนต่างที่เกิดขึ้นก็จะเป็นส่วนต่างที่ถูกกระจายตัวไปยังผู้ใช้ platform ได้อย่างแท้จริง อีกทั้งข้อมูล Transaction ที่เกิดขึ้นก็ถูกบันทึกอยู่ใน Blockchain Technology ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้ามาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่ในชีวิตจริง DeFi ปัจจุบันกลับพบว่าเราไม่ได้ผลกำไรกันแค่ 1 หรือ 2 % แต่เรากำลังคุยกันในหลักสิบหรือไปจนถึงหลักร้อยเปอร์เซ็นต์
จากรูปเราจะเห็นว่า ถ้าเราเอาไปฝากเราจะได้ดอกเบี้ย 11.53% และถ้าเรากู้ออกมาเราจะจ่ายเพียงแค่ 4.61 เปอร์เซ็นต์ (ฝากได้เยอะกว่ากู้ เพราะมี reward มาเป็นตัวเพิ่มรางวัลให้อีกชั้นหนึ่ง) ซึ่งถ้าเรามีทรัพย์สินเราก็จะเอาไปกู้ เพื่อ เอาไปหากำไรส่วนต่างอีกทีหนึ่ง ทำให้เราได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น

ที่ได้ดอกเยอะขนาดนี้ก็เป็นเพราะว่าความต้องการในการใช้เงินของ Cryptocurrency นั้นสูง ถ้ามีความต้องการใช้สูงเขาก็จะจ่ายดอกให้คนที่มาฝากแพงขึ้นและเรียกเก็บดอกจากคนที่กู้ออกไปแพงขึ้นพร้อมๆกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกเขียนอยู่ในโค้ดและเป็นการทำงานแบบระบบอัตโนมัติ ซึ่งประมวลผลแบบ Real Time เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ 3 วินาที
รับประกันได้ว่าสิ่งเหล่านี้เราไม่เคยเห็นในระบบการเงินแบบปัจจุบันแน่นอน
ผลตอบแทนที่มากแบบที่โลกปัจจุบันไม่เคยเห็น
ผม capture platform หนึ่งมาให้ดู จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่จ่ายให้ APR 327-797% เลยทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนนี้ เราสามารถเก็บได้ทันทีหลังจากที่เราฝากเอาไว้ 3 วินาทีเท่านั้น เพราะระบบจะคำนวณ reward ให้ในทุกๆ block ของ blockchain network (ซึ่ง BSC network คือ 3 วินาทีต่อ 1 block) รวมทั้งเราถอนเงินต้นออกมาพร้อมกันเลยก็ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเราแล้ว แต่อย่างไรก็ดีผลตอบแทนที่เห็นนี้ก็ไม่ได้คงที่ตลอดไป เพราะว่าแปรผันตามราคาตลาดของ Governance token และอัตราการแจกผลตอบแทนในช่วงเวลานั้นๆอีกทีหนึ่ง
เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น
เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reachเล่าเรื่องโลก DeFi ในแบบ plot หนังสักเรื่อง
เรื่องนี้ผมต้องให้เครดิตรุ่นน้องคนนึงที่มานั่งคุยกับผม รุ่นน้องคนนี้ได้เริ่มต้น DeFi มาในเวลาไล่ๆกันเลย เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า……
เราทุกคนล้วนเกิดขึ้นมาพร้อมกับกำแพงที่ตีกรอบล้อมรอบเมืองที่เราอยู่อาศัยเอาไว้มาตลอด ไม่เคยมีใครได้เห็นว่านอกกำแพงนั้นมีอะไรอยู่บ้าง และเราในฐานะคนธรรมดาก็ไม่มีโอกาสที่จะออกไปนอกกำแพงนั้นด้วย เพราะว่ากำแพงนั้นทั้งสูงใหญ่และแน่นหนาเป็นอย่างมาก กำแพงนี้ก็เปรียบเสมือนโลกการเงินในยุคปัจจุบัน ที่เราเกิดและอยู่อาศัยมันมาทั้งชีวิต
จากนั้นวันหนึ่งกำแพงก็เกิดรูเล็กๆเกิดขึ้น ซึ่งรูนั้นก็ใหญ่มากพอที่จะให้คนรอดออกไปได้ แต่เนื่องจากมันเป็นรูเล็กๆ ผู้ที่มีอำนาจหรือเกี่ยวข้องก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรกับมันมาก เพราะคิดว่าเป็นแค่รูเล็กๆก็ไม่ได้มีปัญหาหรือความสำคัญอะไร รูเล็กๆที่เกิดขึ้นนี้เปรียบเสมือน Bitcoin ที่เกิดขึ้นมาเมื่อปี 2009 ที่เขาตั้งใจจะสร้างระบบการเงินแบบใหม่ ที่ไม่ต้องไปพึ่งพาหน่วยงานกลางใดๆอีก เพราะตัวเทคโนโลยีมันสามารถทำงานเบ็ดเสร็จได้ด้วยตัวเองทั้งหมดรวมทั้งมีระบบควบคุมความปลอดภัย ในตัวเองอีกด้วย
นับจากวันนั้นเป็นต้นมาก็เริ่มมีคนรอดรูออกไปข้างนอกกำแพงไปเรื่อยๆ แต่ก็แน่นอนมีทั้งคนที่กล้าและมีทั้งคนที่ไม่กล้า คนที่ไม่กล้าก็ด้วยความกลัวว่าออกไปแล้วจะต้องไปเจอกับอะไรที่เราไม่เคยเจอมาก่อนทั้งชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เลวร้ายมากก็ได้ หรือกลัวว่าถ้าออกไปแล้วกลับมาโดนจับได้อาจจะถูกทำโทษ เพราะเราถูกตีกรอบว่าห้ามออกไปนอกกำแพงมาตั้งแต่เกิด เปรียบเสมือนคนที่ยังติดอยู่ในโลกการเงินยุคปัจจุบัน และปฏิเสธโลกการเงินแบบใหม่ ว่ามันไม่จริง มันเป็นไปไม่ได้ ซึ่งไม่ผิด เพราะทุกคนมีสิทธ์ที่จะคิดแบบนั้น
สำหรับคนที่ออกไปนั้น บ้างก็โดนสัตว์ประหลาดกิน บ้างก็โดนภัยธรรมชาติ บ้างก็หลงทาง แน่นอนว่ามีคนที่ล้มเหลวก็ต้องมีคนที่ประสบความสำเร็จ ก็คือบางคนที่ออกไปแล้วตัดสินใจจะไม่กลับมาอีก แต่ไปตั้งรกราก สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นมา โดยมีความเชื่อว่านี่แหละคืออิสระที่แท้จริง เพราะมันคือพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่เคยถูกครอบงำโดยใครเลย มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากให้ทำการขุดขึ้นมาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีวิต หนำซ้ำ มันยังมีเยอะเกินจนกระทั่งสามารถนำกลับไปขายในเมืองที่มีกำแพงล้อมกรอบนั้นอีกต่างหาก เปรียบเสมือนในช่วงแรกๆของการเติบโตของ Bitcoin ที่ยังไม่มีเครื่องไม่เครื่องมืออะไรมากคนก็ไม่ค่อยนิยมเท่าไร แต่ก็มีคนพยายามนำมันมาใช้งานจริงๆในธุรกิจจริงๆ
เมื่อเวลาก็ผ่านไปหลายอาณาจักรก็เริ่มใหญ่โตขึ้น บางอาณาจักรก็ล่มสลาย คนที่รอดก็มีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ก็ยังมีคนโดนโจรปล้นบ้าง โดนภัยธรรมชาติบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ใครที่เริ่มปรับตัวได้ก็เริ่มจะตั้งรกราก และพร้อมรับมือกับสิ่งเหล่านี้มากขึ้น
บางคนก็เลือกที่จะไปใช้ชีวิตอยู่กับอาณาจักรที่สร้างใหม่ขึ้นมา แล้วสร้างเงินสร้างตัวเองให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นม ารวมทั้งสามารถนำรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นกลับไปที่เมืองใหญ่ที่ตัวเองจากมา เพื่อให้ครอบครัวหรือคนอื่นพอกินพอใช้ได้อีกด้วย คนที่ออกมาเหล่านี้เปรียบเสมือนคนที่ออกมาทำฟาร์มในโลกของ DeFi นี่แหละส่วนเจ้าของอาณาจักรก็ยกตัวอย่างง่ายๆว่า Venus platform , Pancakeswap เป็นต้น เขาให้พื้นที่ทำกินกับเรา เราก็เข้าไปทำอาศัยทำกินบนพื้นที่ของเขาเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวได้
แต่แน่นอนบางครั้งเราก็ย้ายไปอาณาจักรอื่นที่เขามีการโฆษณาว่าให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่สุดท้ายก็ rug pull , exit scam หรืออื่นๆ ทำให้เราต้องสูญเสียทรัพยากรบางส่วนของเราไป
ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนอกรั้ว เกิดขึ้นนอกกรอบที่มีคนคอยดูแลมาทั้งชีวิต นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถไปฟ้องร้องหรือแจ้งความเพื่อเอาผิดใครได้เลย เพราะว่านอกรั้วหรือนอกกำแพงนั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าของหรือกฎที่คุ้มครองอย่างแท้จริง
ดังนั้น ความรับผิดชอบทั้งหมด ก็ตกอยู่ที่เราเพียงคนเดียวแล้ว เราจะต้องแข็งแรงมากกว่าที่เราเคยเป็นมา เพราะเราคือผู้ที่ถืออำนาจในการทำ หรือ ไม่ทำอะไรลงไปทั้งหมด และในทุกการกระทำที่ได้ทำลงไป ไม่สามารถย้อนคืนหรือหวนกลับได้อีก เราจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อให้เอาตัวรอดในโลกความเป็นจริงอันนี้ได้ จนกว่าจะถึงวันเวลาที่ทั้งโลกจะทำให้อะไรๆมันเริ่มง่ายขึ้นเรื่อยๆตามวันเวลาที่ผ่านไป
และทั้งหมดนั้น ก็คือ DeFi ครับ