ทุกวันนี้ทุกคนต่างรู้อยู่แล้วว่าเราสามารถหากำไรได้จากการซื้อถูกไปขายแพง นั่นคือความรู้พื้นฐาน ถ้าเราพิจารณาดีๆแล้ว การซื้อถูกไปขายแพง ก็คือการหากำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้าใดๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าเราสามารถหากำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยได้ด้วยเช่นกัน เราไม่มองหาเพียงแค่มุมการหากำไร แต่เราสามารถใช้สิ่งนี้เพื่อทำความเข้าใจและลดรายจ่ายลงได้ ซึ่งหลายคนไม่รู้ในจุดนี้เช่นกัน เนื้อหาวันนี้จะมาอธิบายให้ฟังว่าเราต้องมีมุมมองแบบไหน และใช้ข้อมูลอะไรในการประกอบ ในการไปหากำไรและลดรายจ่ายได้จากส่วนต่างของดอกเบี้ย
การซื้อถูก ขายแพง ทำกำไรให้เราได้อย่างไร
ย้อนไปอธิบายสักเล็กน้อยว่าการซื้อถูกขายแพงนั้นทำกำไรให้เราได้อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเรื่องพื้นฐานก่อนที่จะนำไปต่อยอด
การซื้อถูกเพื่อขายแพงนั้นหลักการก็คือ การทำกำไรจากส่วนต่างของราคา โดยการเคลื่อนที่สินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่ให้มูลค่าของสินค้าที่แตกต่างกัน ตัวอย่างคือ
ซื้อสินค้า A จำนวน 50 ชิ้น ชิ้นละ 20 บาท จะต้องใช้เงิน 100 บาท เป็นทุน
ต่อมา ขายสินค้า A จำนวน 50 ชิ้น ชิ้นละ 30 บาท จะได้เงิน 50*30= 150 บาท เป็นรายได้
ดังนั้น กำไร คือ 150 – 100 = 50 บาท เป็นกำไร
จากกรณีนี้ เราจะเห็นว่าเราเคลื่อนที่สินค้า A จากจุดที่ราคาถูกไปยังจุดที่ราคาแพง และเราก็เก็บส่วนต่างตรงนั้นที่เกิดขึ้นออกมาเป็นกำไร
หลักการทำงานของธนาคาร
ขยับมาอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่หลายคนไม่รู้ ก็คือหลักการทำงานของธนาคาร ซึ่งเข้าใจได้ง่ายมาก (ในความเป็นจริงอาจจะซับซ้อนมากกว่านี้) แต่โดยหลักๆก็คือเรื่องนี้แหละ
ธนาคารรับเงินฝากจากเรา โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยให้เราปีละ 0.5% หมายความว่าถ้าเราฝากเงิน 100 บาท ธนาคาร ก็จะมีต้นทุน จากการจ่ายดอกเบี้ยให้เรา 0.5 บาท ต่อปี เป็นต้นทุนของธนาคาร
และหลังจากที่ธนาคารได้เงินฝากจากเราแล้ว ธนาคารได้นำเงินของเราไปปล่อยกู้ ซึ่งถ้าเราอ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทยในวันนี้ แบบที่ถูกที่สุดก็จะอยู่ที่ 6.65% ต่อปี หรือตีความหมายได้ว่า ใครที่กู้ธนาคาร 100 บาท จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร 6.65 บาท ต่อปี ถือเป็นรายได้ของธนาคาร
ดังนั้น ธนาคารจะได้กำไร 6.65 – 0.5 = 6.15 บาท เป็นกำไรของธนาคาร
และนี่ก็คือหลักการที่ธนาคารได้กำไรเป็นหลัก ก็คือหากำไรจากส่วนต่างของเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งอัตรานี้ถือว่ามีกำไรที่สูงมากๆ เพราะว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แสดงอยู่นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หมายถึงว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยงเลย แต่หากเป็นบัตรเครดิตก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 16% ดังนั้นถ้าเราเทียบด้วยอัตราแบบเดิมนั่นแปลว่าธนาคารสามารถทำกำไรได้ถึง 15.5% ต่อปีเลยทีเดียว
อันนี้ขอไม่พูดถึงเรื่องความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้และอื่นๆแล้วกันเพียงแค่อยากชี้ให้เห็นความแตกต่างของดอกเบี้ยที่สามารถทำกำไรขึ้นได้อย่างไร
ทำกำไร จากการกู้ดอกต่ำ ไปทำกำไรจากดอกแพง
ด้วยหลักการเดียวกันทั้งหมดนี้ จึงเกิดเหตุการณ์ที่สามารถทำกำไรจากการกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อไปทำบางสิ่งบางอย่างที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดส่วนต่างเช่นเดียวกับกิจการของธนาคารอย่างที่ได้เล่าไปข้างต้น
กล่าวคือหากู้ดอกเบี้ยต่ำๆ แล้วเอาไปสร้างผลกำไรให้ได้สูงๆอย่างน้อยก็สูงกว่าดอกเบี้ยธนาคาร เราก็จะได้กำไรส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากตรงนั้น
เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น
เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reachลดรายจ่าย จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ด้วยเช่นกัน
หลายคนมองภาพไม่ออกว่าจากส่วนต่างของดอกเบี้ยนี้ก็สามารถช่วยลดรายจ่ายได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีทั้งเงินฝากและเงินกู้อยู่ในชีวิตประจำวันไปพร้อมๆกัน
ตัวอย่างที่คลาสสิคที่สุดก็คือ
ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และเมื่อถึงงวดชำระก็ชำระเพียงขั้นต่ำหรือไม่ชำระยอดเต็ม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ก็มีเงินฝากอยู่ในบัญชีธนาคารอีกส่วนนึง เพื่อเอาไว้ใช้จ่าย
ถ้าเรามาคิดตัวเลขง่ายๆ ในตอนนี้อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต อยู่ที่ 16% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 0.5% แปลว่าถ้าเราใช้บัตรเครดิตและเราไม่ชำระเต็มจำนวนสมมุติเหลือยอดหนี้ค้างชำระ 10,000 บาท จากดอกเบี้ย เราต้องจ่ายดอกให้บัตรเครดิต 1,600 บาทต่อปี ในขณะที่เรามีเงินฝากอยู่ในธนาคารจำนวน 20,000 บาท แต่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้เรา 100 บาท ต่อปี เท่านั้น แปลว่าเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีเราจะขาดทุนอยู่ 1,500 บาท เลยทีเดียว
ดังนั้นใครที่อยู่ในสถานการณ์นี้หลักการง่ายที่สุดก็คือจ่ายยอดบัตรเครดิตให้เต็มทุกครั้งอย่าให้เหลือและถ้าเงินไม่พอจ่ายก็เป็นจุดที่อธิบายสถานการณ์ว่าเราหมุนเงินไม่ทันแล้วสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นจะต้องพยายามหาเงินมาจ่ายยอดบัตรเครดิตให้ได้โดยเร็วที่สุดภายใต้ข้อกำหนดว่าห้ามใช้เงินจากบัตรเครดิตเพิ่มอีกเป็นเงินขาด ถ้าใครไม่สามารถทำตามนี้ได้ หลังจากนั้นจะเกิดเหตุการณ์วงจรหนี้ไม่รู้จบ และมักจะจบที่การขึ้นศาลทุกคนแน่นอน
อีกตัวอย่างหนึ่งที่คลาสสิคแต่หลายคนมองไม่ออกก็คือ การกู้ซื้อบ้าน และการนำเงินไปลงทุนแบบอื่น โดยทั่วไปคนที่กู้ซื้อบ้านมักจะได้รับการบอกต่อกันว่ามีเงินเท่าไหร่ให้โปะลงไปที่บ้านให้หมด เพื่อให้เงินต้นต่ำลงและดอกเบี้ยก็จะลดลงเร็วตามไปด้วย ต้องบอกว่าไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง 100% แต่ก็ไม่ใช่ความคิดที่ผิดเช่นกัน
สำหรับกรณีนี้มีแนวทางแบบอื่นที่สามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากโดยปกติยอดเงินที่ใช้กู้ซื้อบ้าน มักจะเป็นเงินกู้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันนั่นก็คือบ้านนั่นเอง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทนี้จึงค่อนข้างต่ำ อย่างของผมเองในตอนนี้ก็มีอัตราเงินกู้บ้านอยู่ที่ 6.20% (แต่ละคนจะสูงต่ำไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆแต่เราจะไม่กล่าวไว้ณที่นี้) ดังนั้นถ้าผมมีเงินก้อนใหญ่และผมสามารถนำเงินก้อนใหญ่นั้นไปทำกำไรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า 6.20% ต่อปี ก็หมายความว่าผมจะได้กำไรส่วนต่างตรงนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นสถานการณ์ของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกันบางคนอาจจะไม่สามารถลงทุนให้ได้สูงกว่าอัตราเงินกู้บ้าน การใช้วิธีโปะบ้านให้เยอะและเร็วที่สุดก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดอยู่ แต่สำหรับบางคนที่มีธุรกิจหรือสามารถหากำไรได้จากเงินทุนที่มีอยู่ในมือก็อาจจะต้องพิจารณาการทำกำไรให้ได้มากขึ้นจากส่วนต่างของเงินกู้ตรงนี้
อย่าลืมความเสี่ยง
จริงอยู่ว่าเราสามารถหากำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นได้แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่านั่นมันคืออีกหนึ่งกิจกรรมการลงทุนที่เราจำเป็นจะต้องดูแลอย่างเคร่งครัด และสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าก็คือการลงทุนที่เราคิดว่าจะได้ผลกำไรที่มากขึ้นกลับทำให้ขาดทุน การขาดทุนหมายถึงว่าเงินทุนที่มีอยู่เดิมหดหายไป นอกจากกำไรไม่ได้แล้วทุนยังหด ถ้าแบบนี้จะเป็นความเสี่ยง 2 เด้งทันที เด้งแรกก็คือมีเงินทุนไม่พอที่จะชดใช้คืนเงินที่เรากู้มา เด้งที่ 2 ก็คือดอกเบี้ยที่ยังวิ่งในฝั่งเงินกู้อยู่ตลอดโดยไม่หยุดแม้ว่าเงินทุนจะร่อยหรอไปแล้วก็ตาม
และเหตุการณ์แบบนี้ก็คือเหตุการณ์ที่ทำให้หลายธุรกิจล้มละลาย หรือทำให้อีกหลายธุรกิจเข้าสู่สภาพที่เรียกว่าเจ๊ง เพราะคิดแต่จะขยายธุรกิจโดยลืมมองด้านความเสี่ยงไป หรือมองไม่ออกว่าเหตุการณ์แบบไหนที่จะทำให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายที่กระทบต่อธุรกิจเราได้ เพราะถ้ามีทุนไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้คืน นั่นก็หมายความว่าเราได้กู้เกินกว่ากำลังที่เราจะชำระคืนได้แล้วถ้าวันนี้ยังไม่ล้มละลายมันก็เป็นเพียงแค่การยื้อเวลาเท่านั้นในอีกไม่นานถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะหาทุน หรือเงินมูลค่าเทียบเท่าหนี้สิ้นกลับคืนมาไม่ได้ ทุกอย่างก็คงจะจบอย่างแน่นอน
ดังนั้นเราจึงต้องอ่านเกมให้ขาดอย่ามองแต่เพียงด้านของกำไรมันมีความน่ากลัวที่ซ่อนอยู่
แนวคิด สำหรับแต่ละสถานการณ์
สำหรับคนที่อยู่ในแต่ละสถานการณ์ ผมจะมีตารางแสดงแนวคิดดังนี้ครับ (มีแบบทำกำไรขั้นสูง คือผสมทั้งการกินดอกเบี้ยฝาก และ short against port เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาผสมกันด้วย)