เวลาที่เราเข้าไปฟาร์มเนี่ยเคยสงสัยไหมว่า Reward ที่เขาเอามาแจกมันมาจากไหนกัน แล้วถ้าเราได้รางวัลแปลว่าต้องมีคนจ่ายเหรอ แล้วคนจ่ายคือใคร
ราคาหุ้น และ Cryptocurrency ไม่ใช่ Zero Sum Game
อธิบาย Zero sum Game นิดนึง คำนี้จะถูกใช้ในตลาดที่เป็นตลาดปิด ยกตัวอย่างเช่นตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้า หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Future Market ก็คือคนที่ไป Short / Long โดยวางแค่หลักประกันนั่นแหละ ให้รู้ไว้เลยว่านั่นคือ Zero sum Game ถ้าเราได้แปลว่ามีคนที่จ่ายอยู่เสมอ เพียงแต่แค่เราไม่รู้ว่าใคร แล้วคนที่จ่ายให้เราตลอดทางที่เราได้รับก็อาจจะไม่ใช่คนเดียวกันหรือเป็นคนเดิมเสมอไปก็ได้
เพราะว่าสัญญาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการ Matching กัน ซึ่งนั่นแปลว่า คนสองคน จับมือ ทำสัญญากันผ่านระบบ(ที่เป็นตัวกลาง) ดังนั้นถ้าเราได้กำไรอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นคนจ่ายเงินให้เราก็คือขาดทุน กลับกันถ้าเราขาดทุนเราจะเป็นคนจ่ายเงินให้กับอีกฝั่งหนึ่งที่เขาได้กำไร
แต่ราคาหุ้นและราคา Cryptocurrency ที่เขาซื้อขายกันปกตินั้นไม่ใช่ Zero sum Game ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่าถ้า ตอนนี้เวลานี้ ทุกคนที่มี Bitcoin ในมือ พร้อมใจกัน ไม่ขายเลย แม้แต่เสี้ยวนิดเดียวก็ไม่ขาย แต่ยังมีคนที่ต้องการซื้ออยู่ สภาพที่เกิดขึ้นก็คือใน Exchange ต่างๆ จะไม่มี Offer (คนที่ตั้งราคาเพื่อขาย) จะมีแต่เพียง Bid (คนที่ตั้งราคาเพื่อรอซื้อ) และเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วคนที่ต้องการซื้อ ก็จะเริ่มขยับราคาให้แพงขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ จาก 2 ล้านก็อาจจะกลายเป็น 3 ล้าน 4 ล้านหรือ 5 ล้าน จนกว่าจะมีคนเริ่มยอมขายออกมา ซึ่งจากราคา 2 ล้านกลายเป็น 5 ล้าน โดยที่ยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่าคนที่ได้กำไรอย่างเต็มๆก็คือคนที่ถือ Bitcoin แต่คนที่ซื้อ Bitcoin ที่ 5 ล้าน ไม่ใช่คนที่เสีย เพราะถ้าราคาขึ้นไปแพงกว่านั้น แล้วไม่ลงมาที่ 5 ล้านอีกเลย ก็แปลว่าไม่มีใครเสียเงินเลย ราคาหุ้นและ Cryptocurrency จึงไม่ใช่ Zero sum Game นั่นเอง
ดังนั้นแล้วถ้าเราได้ Reward ออกมา เพื่อขาย ก็ ไม่ได้แปลว่าต้องมีคนจ่ายให้มันเสมอไป แต่เป็นเพราะหลัก Demand Supply จึงทำให้มันมีราคาและมูลค่าสูงขึ้นหรือต่ำลง
จริงๆแล้ว Reward Token ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาฟรี
ผมเคยอธิบายไปแล้วเรื่องของ Token ซึ่งใครก็สามารถสร้างได้ใช้เพียงแค่โค้ดที่ Copy แล้วทำตามบทความในอินเตอร์เน็ต ระดับโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ต้องเก่งมากใช้เวลาวันเดียว ก็สามารถสร้างเหรียญขึ้นมาเป็นของตัวเองได้แล้ว ดังนั้นแล้วการสร้างเหรียญมันไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า สร้างขึ้นมาแล้วมันถูกนำไปใช้ยังไงในรูปแบบไหน มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือกันอย่างไร เพื่ออะไร คนที่ถือได้ประโยชน์อะไร เหล่านี้มากกว่า ที่จะทำให้ Token มันมีมูลค่าขึ้นมาจนพอที่จะกลายเป็น Token ราคาแพงหรือ Another Cryptocurrency ไปได้
จึงกำเนิดมาเป็น Governance Token
อธิบายขยายความ จาก https://bemyblockchain.com/what-is-defi ที่มีการอธิบายเรื่อง Governance Token เอาไว้แล้วประมาณหนึ่ง
เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ จะอธิบายถึง Governance token ecosystem ว่าสร้างขึ้นมาแล้วไปไหน ใช้ประโยชน์ไปกับอะไรบ้าง use case ต่างๆ ของ governance token ที่มีอยู่ในตอนนี้ จากที่หลายๆ platform ทำอยู่ และได้มาแล้ว ทำอย่างไรกับมันได้บ้าง
เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น
เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reachประโยชน์อื่นของ Governance Token
เมื่อเราเข้าใจอย่างนั้นแล้ว เจ้าของแพลตฟอร์ม ก็จะต้องคิดหาวิธีทำอย่างไร ที่เมื่อคนมาทำฟาร์มแล้ว และได้รับรางวัลเป็น Governance Token ไม่เทขายกระหน่ำทิ้งทุกราคา ทุกวัน อย่างที่บทความเราเคยแนะนำกันไป ซึ่งก็ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่เอาไปใช้ประโยชน์ (หรือทำให้ไร้ประโยชน์) เพื่อพยุงราคาหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น