งบกระแสเงินสด เครื่องมือประกอบการวางแผนทางการเงิน

อีกหนึ่งเครื่องมือ ที่ผมใช้มาหลายปี และ แนะนำให้คุณใช้งานด้วยเช่นกัน มันสามารถช่วยเราวางแผนทางการเงินได้ ในทุกสถานการณ์เลย ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เฟื่องฟู ช่วงขัดสน หรือ ช่วงปกติ เพราะนอกจากจะทำให้เห็นเส้นทางของเงินและ เราจะเข้าใจว่า เงินที่ได้มา มันมาจากทางไหนบ้าง แล้วเงินที่ไหลออกไปนั้น ไหลออกไปไหน เท่าไรบ้าง

งบกระแสเงินสดคืออะไร

เอาแบบอธิบายง่ายๆ จะได้ไม่หลับกันไปก่อน มันเป็นเครื่องมือ ที่แสดง กิจกรรม และ จำนวนเงิน ของแต่ละกิจกรรม ในกรอบเวลาที่เรากำหนดไว้ 

มุมมองของผม ผมว่ามันคล้ายกับ บัญชีรายรับรายจ่ายเลยล่ะ แต่ผมใช้กลับทางกัน คือบัญชีรายรับรายจ่าย จดเมื่อตอนที่จ่ายแล้ว แต่ว่า งบกระแสเงินสด ผมใช้วางแผนในเดือนนี้ ว่าเราจะต้องเตรียมเงินไปใช้กับอะไร เท่าไร แล้วจะเหลือ หรือ ขาดเท่าไร ยังไงบ้าง เพื่อให้มันลงตัว

ประโยชน์ที่ได้จากการทำงบกระแสเงินสด

เราจะเห็นว่าเงินเข้ามาจากทางไหน จำนวนเท่าไรบ้าง และ จะเห็นว่าเงินจะต้องออกไปทางไหน จำนวนเท่าไรบ้าง ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง (ซึ่งจุดนี้ก็ต้องใช้การจดบัญชีรายรับรายจ่ายในอดีตมาช่วยด้วย จะช่วยได้มาก และแม่นมากขึ้น)

ทำงบกระแสเงินสดยังไง

เนื้อหาที่ซ่อนอยู่คือ ไฟล์ google sheet ที่สามารถ download ไปใช้งานกันได้ทันที

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

กรอกยังไง

ให้ไปที่เดือนปัจจุบัน อย่างเดือนนี้คือ พฤษภาคม ก็เปิด sheet ของเดือนนี้ขึ้นมา แล้วกรอก รายได้ ว่ามาจากช่องทางไหน ก็เลือก drop down แล้วใส่รายละเอียด และจำนวนเงินลงไป วันที่ไม่ต้องก็ได้

โดยรายได้ ผมอิงจากเดือนก่อน หมายถึง เงินที่เราได้มาในเดือน เมษายน ยกมากรอกเดือนนี้ เพราะปกติ เงินเดือนออก ก็จะออกสิ้นเดือน หรือ บางคนทำงานรับเงินไม่ประจำ ก็รวบทั้งเดือน มากรอกเป็นเดือนต่อไป อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ เงินที่เราได้ของเดือนก่อน เราจะเอามาใช้ของเดือนนี้ ถ้าเราเอาเงินที่จะได้เดือนนี้ มาวางแผนใช้ของเดือนนี้ มันอันตรายไป เพราะถ้าเราไม่ได้เงินตามแผน เราจุกแน่ๆเลย (ดังนั้น เงินได้เดือนนี้ กรอกใส่เดือนหน้า แต่รายจ่ายเดือนนี้ กรอกใส่เดือนนี้)

สำหรับรายจ่าย ก็เลือกหมวด และกรอกตัวเลขลงไปเลย แต่ผมจะพยายามไม่แตกเป็นหน่วยย่อยๆ ครับ อย่างถ้าเรื่องอาหาร ผมก็ใส่บรรทัดเดียวเลย คือ อาหาร ที่ต้องพอสำหรับทั้งเดือน เพราะไฟล์นี้ใช้วางแผน ดังนั้น มันควรจะแสดงภาพรวมๆให้เราได้ครับ ถ้าเราแตกหน่วยย่อยเกินไป เราจะงงเอง เวลาดูในภาพรวมๆ

เมื่อเรากรอกรายรับที่ได้มา และรายจ่ายที่คาดว่าจะต้องจ่ายในเดือนนี้ครบแล้ว เราก็ไปดูที่ กระแสเงินสดสุทธิเลยครับ มันต้องเป็น 0 หรือมีค่าเป็น บวกเล็กๆ 

แต่เชื่อผมครับ ถ้าคนที่ใช้จ่ายแบบตึงมือ ลองได้มาหยอด ต้องมีติดลบทุกราย หรืออีกกรณีคือ คนที่ไม่ได้ทำบัญชี จึงกรอกรายจ่ายที่น้อยกว่าความเป็นจริง จะเห็นเลขเป็นบวก แต่ชีวิตจริง ทำไมไม่เคยเห็น ว่ามันเหลืออยู่ตรงไหนเลย?

อ้อ พวกที่ผ่อนหนี้ ค่างวด ค่าน้ำ ค่าไฟ อย่าลืมบันทึกให้ครบด้วย คือ บันทึกทุกหมวด ที่เราต้องจ่ายเงินออกจากเราเป็นรายจ่ายนั่นแหล่ะ

สำหรับการกรอกนั้นผมแนะนำให้ทำทุกๆต้นเดือน เพราะว่าอย่างที่บอกเราเอาเงินรายรับของเดือนก่อนหน้ามาตั้งเป็นรายรับของเดือนปัจจุบันและเราก็คาดการณ์ว่าเดือนนี้เราจะต้องใช้จ่ายอะไรจำนวนเท่าไหร่บ้าง ซึ่งโดยปกติแล้วมันก็จะใกล้เคียงกับของเดิมนั่นแหละ แต่ว่าบางกรณีเราจะรู้ว่ามันมีรายจ่ายบางอย่างที่จะเพิ่มขึ้น อย่างเช่นเราต้องต่อประกันรถยนต์ อย่างชั้น 1 ก็มีหลักหมื่นบาทอยู่เหมือนกัน หรือว่าต้องเอารถยนต์เข้า Maintenance ตามระยะเวลา ก็มีค่าใช้จ่ายอีกหลายพันซึ่งมันจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายทุกเดือนแต่เราสามารถวางแผนได้ว่าเราจะพอจ่ายในเดือนนี้ได้ไหม 

กรอกเสร็จแล้วยังไงต่อ?

เมื่อกรอกเสร็จแล้ว สิ่งที่เราต้องทำก็คือ

เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ คือ การอธิบายว่า หลังจากที่เรากรอกเสร็จแล้ว เราต้องทำอะไร ยังไงต่ออีกบ้าง เพื่อให้ได้ประโยชน์จากมันมากที่สุด และเราใช้วางแผนได้อย่างไร ในกรณีที่เงินขาด หรือ เงินเกิน

--------------------------------------------------------------

เนื้อหาพิเศษ ต้องแลกด้วย Reach เท่านั้น

เนื้อหาส่วนนี้เป็นเนื้อหาพิเศษ จะต้องใช้ reach ในการเข้าอ่านเนื้อหาจุดนี้ เมื่อแลกด้วย reach แล้วจะสามารถอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่เพิ่มเติมได้ หากมี reach แล้วกรุณา login ก่อน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Reach

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้อีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยให้เงิน ออกไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรืออย่างน้อยเราก็จะมองเห็นภาพรวมสภาพทางการเงินของเราด้วย ซึ่งในระยะยาว เราจะเป็นคนที่มีฐานะทางการเงินแข็งแรง ได้อย่างแน่นอนครับ